บทสรุปของสภาแห่งชาติแห่ง สปป.ลาว ของ สภาแห่งชาติลาว

  1. สภาแห่งชาติและห้องว่าการสภาแห่งชาติเป็นองค์กรที่ขนาดเล็ก กะทัดรัด (สมาชิก 115 ท่าน เจ้าหน้าที่ 76 ท่าน) คล่องตัว งานไม่ซับซ้อน การจัดองค์กรเรียบง่าย จำนวนหน่วยงาน (ย่อย) น้อย ความคล่องตัวและเรียบง่ายนี้ยังรวมถึงระเบียบวิธีการจัดการประชุมด้วย
  2. พนักงานมีความสามัคคีและสนิทสนมกันมาก (ส่วนหนึ่งเพราะองค์กรขนาดเล็ก) ให้งานเป็นตัวตั้ง แบ่งและสลับหน้าที่กันทำงานได้ รวมทั้ง สามารถรวมกันเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติงานเร่งด่วนบางประการได้ การจัดองค์กรมีความยืดหยุ่นสูง และเน้นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล (ไม่มีการลงเวลาปฏิบัติงานหรือเลิกงาน)
  3. ทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพสูง รัฐการได้คนเก่งเข้ามาทำงานจำนวนมาก (เมื่อเทียบกับภาคเอกชน หรือสถานการณ์ของวงงานราชการไทย) การศึกษาดี จำนวนมากจบการศึกษาจากต่างประเทศ (ระดับปริญญาโท) โดยทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์จะเป็นเงื่อนไขพื้นฐานเบื้องต้นในการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน (ดูจากประวัติ ผลการเรียน และการสอบสัมภาษณ์ โดยไม่มีการสอบข้อเขียน)
  4. สภาแห่งชาติได้รับงบประมาณและการช่วยเหลือด้านต่างๆ จากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ค่อนข้างมาก อาทิ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่มีการส่งเจ้าหน้าที่/ที่ปรึกษามาร่วมทำงานช่วยเหลือประจำ นอกจากนี้ ยังมีการช่วยเหลือทั้งด้านองค์ความรู้ ทักษะการบริหาร และการฝึกอบรมต่างๆ ด้วย โครงการความร่วมมือการ พัฒนาแห่งนอร์เวย์ (NORAD) ที่มีการช่วยเหลือด้านงบประมาณและการให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือในโครงการต่างๆ
  5. พนักงานทำงานค่อนข้างหนัก แม้ไม่มีการลงเวลาเข้า - ออกการปฏิบัติงาน กระนั้นเจ้าหน้าที่สภาแห่งชาติแห่ง สปป.ลาว ก็ยังต้องทำงานค่อนข้างหนักมาก เนื่องจากมีจำนวนเจ้าหน้าที่น้อย ในขณะที่มีภารกิจที่ต้องปฏิบัติมาก
  6. สภาแห่งชาติมีกิจกรรมเด่นหลายประการซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดกับประชาชน และความเสียสละของพนักงาน อาทิ สมาชิกสภาแห่งชาติลงพื้นที่พบปะและรับฟังปัญหาของประชาชน การต้องนำร่างกฎหมายทุกฉบับลงขอความเห็นจากประชาชนก่อนตราบังคับใช้ สายตรงการร้องเรียน (ทางโทรศัพท์) จากประชาชนระหว่างการประชุมสภา (ตลอดจนข้อกฎหมายที่มิเห็นด้วยก็สามารถวิจารณ์ได้) กิจกรรม “การออกแรงงาน” ของเจ้าหน้าที่เพื่อปลูกต้นไม้/ทำความสะอาดและปรับปรุงบริเวณอาคาร (ทุกช่วงเช้าวันศุกร์สุดท้ายของเดือน)
  7. สมาชิกสภาแห่งชาติ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ห้องว่าการสภาแห่งชาติต่างมีความเป็นกันเองมากและสามารถ เข้าถึงกันได้ในทุกระดับ ทำให้สามารถพูดคุยหรือประสานงาน/สั่งการต่างๆ ได้ดี โดยมิได้ให้ความสำคัญกับระเบียบพิธีมากนัก สามารถเข้าถึงและสื่อสารกันได้ทุกระดับด้วยบรรยากาศสบายๆ อันทำให้งานต่างๆ ราบรื่นยิ่งขึ้น
  8. มีเจ้าหน้าที่ต่างชาติ (กลุ่มชาติยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย) มาประจำเพื่อให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ด้านต่างๆ ตามโครงการเสริมสร้างสภาแห่งชาติเข้มแข็ง - UNDP ทำให้การพัฒนาด้านต่างๆ พัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  9. สภาแห่งชาติและห้องว่าการสภาแห่งชาติสามารถประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง (อาทิ รัฐบาล พรรค ประธานประเทศ ศาลและอัยการ องค์การระหว่างประเทศ) ได้ใกล้ชิดมาก เพราะระดับอำนาจ/ศักดิ์ศรีของหน่วยงานที่ค่อนข้างสูง (ประธานสภาแห่งชาติ เทียบเท่านายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะกรรมาธิการและหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติเทียบเท่ารัฐมนตรี) ตลอดจนการเป็นฝ่ายตรวจสอบที่เป็นอิสระจากรัฐบาล จึงทำให้มีการประชุมและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานค่อนข้างบ่อย ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งในแง่ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและทิศทางการปฏิบัติงานระดับนโยบายของชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ภายใต้พรรคการเมืองเดียว)

ใกล้เคียง

สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว) สภาแห่งรัฐ (ฝรั่งเศส) สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน สภาแห่งรัฐ (อังกฤษ) สภาแห่งรัฐ สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย) สภาแห่งรัฐ (เนเธอร์แลนด์) สภาแห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูติมอร์ สภาแห่งชาติแห่งสหภาพพม่า สภาแห่งชาติลิเบีย